![]() |
||||||
นักวิจัย
ดร.อังทินี กิตติรวีโชติ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ เลขที่คำขอ 430696
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากการลงพื้นที่ทำบริการวิชาการเพื่อพัฒนาครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พบว่า ครูผู้สอนเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนบทเรียนไฟฟ้าให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากถูกบรรจุเป็นตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางของรายวิชาพื้นฐาน อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะการช่างเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนมักประสบปัญหาเมื่อเรียนหัวข้อวงจรไฟฟ้า โดยขาดความเข้าใจในเนื้อหาและไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาดังกล่าวได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สื่อแอนิเมชั่นเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์จึงถูกเลือกใช้เป็นแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาผู้เรียน ตามนโยบายทางการศึกษาที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ เพราะสามารถกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตามอัธยาศัย นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้นำเทคนิคการสอน
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สื่อแอนิเมชั่นเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 6 ชิ้น ประกอบด้วย
1) สื่อแอนิเมชั่นเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น เนื้อหาประกอบด้วย ความหมายของวงจรไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าปิดและวงจรไฟฟ้าเปิด ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย การต่อตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า ได้แก่ การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบขนาน และการต่อแบบผสม พร้อมโจทย์ปัญหาสำหรับการทบทวนความรู้ 2) สื่อแอนิเมชั่นเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรอนุกรมและขนาน เนื้อหาประกอบด้วย ความหมายของวงจรไฟฟ้า สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในวงจรไฟฟ้า การเปรียบเปรยวงจรไฟฟ้าด้วยระบบน้ำ สูตรการหาค่าความต้านทานรวมเมื่อตัวต้านทานต่อกันแบบอนุกรมหรือแบบขนาน พร้อมโจทย์ปัญหาสำหรับการทบทวนความรู้ 3) สื่อแอนิเมชั่นเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การหาค่าความต้านทานรวม เนื้อหาประกอบด้วย สูตรการหาค่าความต้านทานรวมเมื่อตัวต้านทานต่อกันแบบอนุกรมหรือแบบขนาน พร้อมโจทย์ปัญหาสำหรับการทบทวนความรู้ |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา | |
|||||
|