![]() |
||||||||
นักวิจัย
รศ.ดร.นิราวรรณ กุนัน
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001197 ยื่นคำขอวันที่ 17 พฤษภาคม 2565
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จุลินทรีย์อีเอ็มหรืออีเอ็ม (EM) คือกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น Actinomyces, Arachinea, Aspergillus, Bacillus, Bifidobacterium, Clostidium,Desulfotomaculum, Eubacterium, Lachnospira, Lactobacillus, Leuconostoc, Pediococus, Peptococcus, Peptostreptococcus, Propionibacterium, Rhodophillium, Ruminococcus, Saccharomyces และ Streptococcus โดยพบว่าจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถทำงานได้ดีในสภาพไร้ออกซิเจนและทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลงและให้ได้กรดอินทรีย์ที่ไม่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งจุลินทรีย์ในอีเอ็มจะสร้างสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันไม่ให้เกิดการย่อยสลายทำให้เน่าเปื่อยแต่จะเกิดการย่อยสลายแบบการหมัก ทั้งนี้การนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ สามารถทำได้ด้วยการผลิตอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็มแล้วนำมาหมักร่วมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์คุณภาพต่ำ เช่น การหมักกากมันสำปะหลังด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม สามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนะโปรตีน การละลายได้ และอัตราการไหลผ่านของอาหารในหลอดทดลอง in vitro
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สำหรับการหมักอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ประกอบด้วย ยูเรีย กากน้ำตาล น้ำ และสารเร่งจุลินทรีย์ โดยสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สำหรับการหมักอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องใช้ในการหมักร่วมกับวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรเพื่อให้ได้อาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีโภชนะโปรตีนสูง สำหรับใช้ทดแทนอาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่มคุณภาพอาหารสัตว์ ลดต้นทุนการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | |
|||||||
|