ชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต
นักวิจัย  
ดร.พรอนงค์ พงษ์ไพบูลย์
นายจิรสิญจ์ ตั้งหลักชัย
นางณัฐวรรณ สุวรรณจิต โคตะ
นายพีระพงศ์ ฟักเขียว
นางสาวภาวิณี มีราศรี
นายศักรินทร์ รอดพันธ์
นายสุรเดช โชติช่วง
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002807 ยื่นคำขอวันที่ 28 กันยายน 2564
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2201006870 ยื่นคำขอวันที่ 21 ตุลาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันหลายประเทศได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 โดยแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ของพื้นที่ กทม.และปริมณฑล มาจากไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นอันดับ 1 จึงได้มีงานวิจัยที่นำเสนอแนวทางกรองไอเสียจากรถ โดยใช้เทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต (ESP: Electrostatic Precipitator) ซึ่งสามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการลดทอนของแรงลมต่ำ และยังสามารถนำชุดกรองมาล้างทำความสะอาดได้ อย่างไรก็ตาม ไอเสียที่ออกมาจากเครื่องยนต์ อาจมีความเร็วลมสูงถึงระดับ 30 m/s ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นละอองลดลงอย่างมาก
ดังนั้น ทีมวิจัยจึงพัฒนาผลงานวิจัยนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบกระบวนการกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซล เพื่อช่วยลดมลพิษในอากาศ มุ่งเน้นการพัฒนาชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับการใช้งานกับรถขนาดใหญ่ เช่น รถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุก โดยออกแบบชุดกรองเชิงไฟฟ้าสถิตแบบสองขั้นตอนที่มีการกระจายตัวของลมหรือไอเสียอย่างทั่วถึง เพื่อลดแรงลมของไอเสียที่เคลื่อนผ่านส่วนดักจับฝุ่นละอองและเพิ่มประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นละออง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- ใช้เทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตแบบสองขั้นตอนที่มีส่วนของแผ่นกระจายลม ทำให้แรงลมกระจายอย่างทั่วถึง
- สามารถล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องถอดชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเพราะผลิตจากสแตนเลสเกรด 304 ไม่เกิดสนิม
- มีเซนเซอร์วัดความชื้น และวัดความหนาแน่นของฝุ่นละออง ควันดำจากไอเสียที่เกาะติดบนแผ่นดักจับฝุ่นละอองในส่วนดักจับฝุ่นละอองของชุดกรองไอเสียฯ
- มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน 45 วัตต์ แรงดันไฟฟ้า 24 VDC
- มีประสิทธิภาพในการลดควันดำจากไอเสียเครื่องยนต์ดีเซลได้มากกว่า 80%
- มีไฟแสดงสถาณะการทำงานของชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ตัวแทนอนุญาตใช้สิทธิ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
Email ipbiz@nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต"