![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรวรรณ อภิรักษากร และคณะ
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 2001002252
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
กรรมวิธีผลิตเส้นใยอาหารแบบใหม่ ที่ทำได้ง่าย ลดการใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์รุนแรงและประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำบัดสารเหลือทิ้งจากกระบวนการ สามารถผลิตเส้นใยอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อเสริมอาหาร หรือเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• มีผลการทดลองในระดับห้องทดลอง (ผลงานวิจัยได้รับการยอมรับและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ Q1)
• สามารถผลิตได้ทั้งเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำในกระบวนการผลิตครั้งเดียวกัน • ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อเพิ่มกากใยที่ไม่ให้พลังงานและช่วยให้ขับถ่ายสะดวก • ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้ระยะเวลาสั้น ใช้ระยะเวลารวมเพียง 37-46 ชั่วโมง ซึ่งเดิมใช้เวลามากกว่า 50 ชั่วโมง • ลดการใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์รุนแรง เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำให้ต้นทุนต่ำ และลดค่าใช้จ่ายจากการทำบำบัดของเหลือทิ้ง • ของเหลือทิ้งจากการกระบวนการอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ แทนนิน ซาโปนิน และสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้าจากธรรมชาติได้อีกด้วย |
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|||||||
|