กรรมวิธีการสังเคราะห์ยางธรรมชาติอิพอกไซด์
นักวิจัย  
รองศาสตราจารย์โฉมศรี ศิริวงศ์ และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 2203000942
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ยางธรรมชาติอิพอกไซด์ หรือยางอิพอกซี่พรีน เกิดจากการดัดแปรโครงสร้างทางเคมีของยางธรรมชาติผ่านปฏิกิริยาอิพอกซิเดชัน ทำให้ยางมีความทนต่อน้ำมัน ฯลฯ การสังเคราะห์ยางอิพอกไซด์จะมีการเติมกรดฟอร์มิกและไฮโดรเจนเพอออกไซด์เพื่อให้เกิดเปอร์ฟอร์มิกในระหว่างที่เกิดปฏิริยาอิพอกซิเดชัน แต่น้ำยางธรรมชาติที่จะนำมาใช้ในปฏิกิริยาดังกล่าวจะต้องนำมาทำให้เกิดความเสถียรต่อกรดเสียก่อน
มีผู้ค้นพบวิธีสังเคราะห์สารเคมีแบบใหม่ที่เรียกว่า โซโนเคมี ซึ่งเป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อแตกพันธะและกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นวิธีสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้น จึงมีผู้นำวิธีสังเคราะห์สารเคมีแบบโซโนเคมีมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การเตรียมน้ำมันพืชอิพอกไซด์ด้วยการทำให้เกิดปฏิกิริยาอิพอกไซด์ด้วยคลื่นความถี่สูงที่สภาวะต่างๆ
แม้ว่จะมีการนำวิธีสังเคราะห์สารเคมีแบบโซโนเคมีมาใช้อย่างหลากหลาย แต่ยังไม่มีผู้ใดนำวิธีโซโนเคมีมาประยุกต์ใช้ในการสังเคราะห์ยางธรรมชาติ ดังนั้นผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนากรรมวิธีการสังเคราะห์ยางธรรมชาติอิพอกไซด์ด้วยวิธีโซโนเคมีขึ้น เพื่อให้ได้สภาวะการสังเคราะห์ที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
อุณหภูมิที่เหมาะสมเมื่อใช้กรรมวิธีนี้คือ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที เมื่อเทียบกับวิธีดั้งเดิมที่ต้องใช้อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
จินดาพร พลสูงเนิน
โทรศัพท์ 043-202-733
โทรศัพท์มือถือ 086-451-4455
Email chinph@kku.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการสังเคราะห์ยางธรรมชาติอิพอกไซด์"