![]() |
||||||
นักวิจัย
ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 25000
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากปัญหาการดื้อยาสารเคมีของเชื้อราก่อโรคพืช การตกค้างของสารเคมีในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค และเพื่อต้องการยกระดับความปลอดภัยของผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้น การกำจัดจุลินทรีย์ก่อโรคพืชด้วยชีววิธีจึงเป็นทางเลือกของการแก้ปัญหาข้างต้น ชีวภัณฑ์ประดิษฐ์นี้ประกอบด้วยราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ TBRC 4734 เป็นสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคพืชได้หลายชนิด และยังสามารถเพิ่มปริมาณสปอร์ได้ง่ายและรวดเร็ว การใช้ราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมและยับยั้งการเจริญเชื้อราก่อโรคพืช เป็นเทคโนโลยีและแนวทางที่ปลอดภัยต่อคน สัตว์ และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีและยากำจัดเชื้อรา อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตราไตรโคเดอร์มา เป็นเทคโนโลยีที่ง่าย มีขั้นตอนและวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก สะดวกรวดเร็ว และลงทุนไม่สูง ซึ่งในการผลิตราไตรโคเดอร์มาเพื่อใช้ควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชนี้มีความมุ่งหวังเพื่อผลิตราไตรโคเดอร์มาที่มีคุณภาพ โดยสามารถผลิตโคนิเดียซึ่งเป็นรูปแบบของสปอร์ที่ใช้ในการควบคุมเชื้อราก่อโรค
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• มีประสิทธิภาพในการควบคุมและยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคเน่าคอดินของพริกและเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคไหม้ของเมล่อนในระยะกล้า
• สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ โดยการผลิตฮอร์โมนพืช ‘ออกซิน’ • ผลิตจากธรรมชาติ ปลอดภัย ไม่ตกค้างในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม • กระบวนการผลิตง่ายโดยสามารถผลิตได้ในธัญพืช และกรรมวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
||||||
![]() ![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) | |
|||||
|