การผลิตไขมันและแคโรทีนอยด์จากยีสต์น้ำมัน |
นักวิจัย |
|
รศ.ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผลงานนี้ได้ให้ความสำคัญกับการจัดหาสารประกอบจำพวกน้ำมันและไขมัน และจำเป็นต้องหาแหล่งน้ำมันและไขมันอื่นเพื่อทดแทนน้ำมันปาล์ม ทำให้เกิดการต่อยอดขึ้นในโครงการนี้ โดยมีวัตถุดิบหลักเป็นน้ำมันที่ผลิตได้จากยีสต์น้ำมัน หรือ oleaginous yeast เนื่องจากมีข้อเด่นหลายอย่าง เช่น โตง่าย ใช้เวลาน้อย ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงให้มีความหนาแน่นของเซลล์สูงได้ โดยกรดไขมันหลักที่สะสมในเซลล์ยีสต์คือ C14, C16 และ C18 ซึ่งอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) มีความคล้ายคลึงกับกรดไขมันในน้ำมันพืช ที่สามารถสะสมไขมันได้ถึง 70% ของน้ำหนักแห้ง สำหรับในโครงการนี้ ได้มีการนำ oleaginous yeast สายพันธุ์ Rhodosporidium paludigenum CM33 ที่ได้มีการคัดเลือกแล้วว่าสามารถผลิตน้ำมันได้เป็นอย่างดี ถือเป็นสายพันธุ์ยีสต์ที่มีการสะสมของไขมันสูงมีความเหมาะสมในการต่อยอดพัฒนากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
สามารถพัฒนาสูตรอาหารที่เมีศักยภาพและมีต้นทุนต่ำในการเลี้ยงเซลล์ oleaginous yeast (Rhodosporidium paludigenum) ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ 500 ลิตร ที่ได้ปริมาณเซลล์ยีสต์น้ำมันปริมาณมากสำหรับการสกัดให้ได้น้ำมันเพื่อการผลิตไบโอออยล์ด้วยกระบวนการไพโรไลซีสแบบเร็วโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ชนิดตกอิสระที่ถูกพัฒนาปรับปรุงหน่วยสลายตัวทางความร้อนด้วยกระบวนการไพโรไลซีสแบบเร็วนี้อย่างมีประสิทธิภาพขนาดอัตราป้อนวัตถุดิบไม่ต่ำกว่า 20 กิโลกรัมต่อวันที่เป็นผลยีสต์แห้งที่มีปริมาณไขมันสูงและการกลั่นลำดับส่วนแบบสุญญากาศระดับโรงงานต้นแบบ เพื่อแยกน้ำมันแต่ละชนิดออกจากกัน เพื่อการใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพต่อไปคุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
  |
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
บุปผาชาติ กันสา |
Email |
buppha_chat@g.sut.ac.th |
สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การผลิตไขมันและแคโรทีนอยด์จากยีสต์น้ำมัน"
|
|