![]() |
|||||||
นักวิจัย
รศ.ดร.อภิชาติ บุญทาวัน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
|||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1401001518 ยื่นคำขอวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557
|
|||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากการมีปัญหาของเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนานำของเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ถือเป็นการเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้ยั่งยืน กากชานอ้อยเป็นขยะทางการเกษตรและเป็นของเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาล ทั้งยังเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ด้วยการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ดำเนินงานทางด้านไบโอรีไฟเนอรี่ทำให้มีพื้นฐานด้านเทคนิค กระบวนการและเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานระดับโรงงานต้นแบบได้เป็นอย่างดี โดยคาดว่าโครงการนี้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งให้สำเร็จไปได้ด้วยดี เกิดการพัฒนากากชานอ้อยเพิ่มมูลค่าเป็น ไซลิทอลที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการในท้องตลาดและมีประโยชน์ทางด้านสุขภาพ เกิดประโยชน์ต่อด้านเกษตร อุตสาหกรรม และสังคม
|
|||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลงานนี้ทำการศึกษาศักยภาพการแปรรูปวัตถุดิบกากชานอ้อยเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไซลิทอลเพื่อนำมาใช้ ที่มีการพัฒนากระบวนการหมักไซลิทอลที่เหมาะสมด้วยเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีศักยภาพซึ่งทำการคัดแยกได้เองจากห้องปฏิบัติการและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนากระบวนการแปรรูป และการทำบริสุทธิ์ไซลิทอล เพื่อให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับที่มีจำหน่ายในทางการค้าในโรงงานต้นแบบ (Pilot scale) อีกทั้งทำการออกแบบโรงงานและระบบการผลิตโดยใช้โปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อที่จะกำหนดขนาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยออกแบบให้มีกำลังการผลิตต่าง ๆ กัน เช่นวันละ 10,000, 50,000 และ 100,000 ลิตร เป็นต้น
|
|||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
|||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
|||||||
![]() |
|||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
|||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
| |||||||
สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
|