![]() |
||||||||
นักวิจัย
นางสาวจารุนันท์ ไชยนาม
นายปภังกร ส่างสวัสดิ์ นางสาวพรรณี พิมพ์โพธิ์ นางสาวเพ็ญศรี ชิตบุตร |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001650 ยื่นคำขอวันที่ 1 กรกฎาคม 2565
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ดักแด้ไหมอีรี่ เป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการเลี้ยงไหม เนื่องจากมีเปลือกหนา เนื้อสัมผัสแข็ง ชาวบ้านขายไม่ได้ โครงการต้องการแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ เพื่อลดขยะจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ให้เป็นศูนย์ โดยนำเอาดักแด้ที่เป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยไม่เหลือส่วนที่เป็นขยะทิ้งไว้ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยทางชุมชนร่วมกับทางมหาวิทยาลัยจึงร่วมกันพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่อบแห้งจากดักแด้ไหมอีรี่ เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ ถือเป็นแนวคิดแบบ BCG สร้างรายได้หมุนเวียน สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1) เพิ่มรายได้ จากการนำดักแด้ที่เป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนเลี้ยงไหมอีรี่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่อบแห้งจากดักแด้ไหมอีรี่
2) ลดขยะเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เป็นศูนย์ 3) สร้างผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่โปรตีนทางเลือกที่มีมูลค่าสูงและใช้เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารแบบไม่ซับซ้อน 4) กระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5) ผลิตอาหารโปรตีนทางเลือกเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร |
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ | |
|||||||
|