![]() |
||||||
นักวิจัย
นายธรรมนูญ รุ่งสังข์
ดร.เอกลักษณ์ วงแวด ดร.จักรินทร์ ศรีวิไล ผศ.ดร.ลภัสรดา มุ่งหมาย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์มีมูลค่าทางการตลาดสูงมาก โดยเห็นได้จากในปี 2564 ตลาดเครื่องสำอางมีมูลค่าทางการตลาดสูงกว่า 2 แสนล้านบาท (Euromonitor) หนึ่งในนั้นคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสีผิว เช่น ครีมรองพื้น เป็นต้น จึงทำให้ธุรกิจด้านนี้เติบโตเป็นอย่างมาก ดังนั้นนักวิจัยในโครงการนี้จึงสนใจที่จะคิดค้นสูตรตำรับดังกล่าว อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมักจะมีการสร้างจุดขาย ดังนั้นนักวิจัยในโครงการนี้จึงเตรียมเป็นสูตรตำรับที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อสามารถสร้างเป็นจุดขายได้ นอกจากนี้พบว่าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนพบกระบกเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีศักยภาพนำมาใช้ในตำรับเครื่องสำอางได้
สารภีป่ามีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Anneslea fragrans Wall จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10-20 เมตร พบขึ้นทั่วไประดับความสูงประมาณ 850-1,700 เมตร ซึ่งสามารถพบได้มากในภาคเหนือ โดยนักวิจัยในโครงการนี้พบว่าสารสกัดสารภีป่าที่สกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่แรงเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, FRAP และ ABTS assay ดังนั้นสารสกัดดังกล |
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สูตรตำรับเจลเนื้อฟองน้ำปราศจากสารกันเสียและแอลกอฮอล์ที่ให้ความรู้สึกเย็นทันทีที่ทาลงบนผิว ผสมสารสกัดสารภีป่าที่ช่วยในการต่อต้านริ้วรอย เป็นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมคือใช้พอลิเมอร์ที่เป็นลักษณะเนื้อฟองน้ำ ซึ่งสามารถอุ้มน้ำได้สูง ปลดปล่อยน้ำได้อย่างรวดเร็วเมื่อทาบนผิว ทำให้รู้สึกเย็นทันทีที่ทา และไม่รู้สึกเหนียวเหนอะหนะ แม้อากาศที่ร้อนชื้น ซึ่งเหมาะกับประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอยที่เหมาะกับคนไทยที่มีผิวแพ้ง่าย ที่มีลักษณะเป็นเนื้อเจลฟองน้ำซึ่งปราศจากสารกันเสียและแอลกอฮอล์ ลดความเสี่ยงในการระคายเคือง ทำให้เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นจัดเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้น ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยสูตรตำรับดังกล่าวเป็นสูตรตำรับที่มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องสำอาง ซึ่งสามารถสร้างเป็นจุดขายได้ นอกจากนี้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสารภีป่าซึ่งเป็นพื้นท้องถิ่นทางภาคเหนือด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
|
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนดลยี มหาวิทยาลัยพะเยา | |
|||||
|