![]() |
||||||||
นักวิจัย
รศ.ดร. สุพรรณ ยั่งยืน
ผศ.ดร.พีระยศ แข็งขัน ผศ.ดร. เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002270 ยื่นคำขอวันที่ 13 สิงหาคม 2564
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นวัตกรรมข้าว GABA RS มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ข้าว GABA RS ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการ สู่การเป็นเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต้นแบบภาคสนาม ซึ่งทีมวิจัยทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวย่อยยากที่มีค่าแป้งย่อยยาก RS สูง และมีค่า GABA สูง โดยใช้เครื่องจักรกลนวัตกรรมในกระบวนการผลิต ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์ข้าวสุขภาพสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ และผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งนวัตกรรมที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต คือ หนึ่งเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกเมล็ดพืช สองระบบนึ่งความดันสูง สามเครื่องอบแห้งอินฟราเรด และสี่ระบบทำเย็นผลิตภัณฑ์ โดยนวัตกรรมสองในสี่(ลำดับที่หนึ่งและสาม) เป็นผลงานที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และได้รับทุนส่งเสริมให้มีการขยายผลองค์ความรู้สู่ชุมชนและได้รับการตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี ที่ผ่านมาการนำเสนอผลิตภัณฑ์มักนำเสนอจุดเด่นหลักเพียงด้านเดียว เช่น ข้าวที่มี GABA สูง แป้งดัดแปรที่ทนย่อย หรือแป้ง/ข้าวที่มีค่า GI ต่ำเป็นต้น แต่ในโครงการนี้จะนำข้าวที่มีต้นทุนด้านวัตถุดิบที่มี GABA สูงจากกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกจากนวัตกรรมดังกล่าวข้าวต้น มาผนวกกับองค์ความรู้ที่ทราบกันดีคือเทคนิคท
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เพิ่มเทคนิคการนึ่งความดันต่าง การอบแห้งอย่างรวดเร็ว สุดท้ายทำการกระตุ้นซ้ำเพื่อเพิ่มการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเม็ดแป้งด้วยการลดอุณหภูมิผลิตภัณฑ์ โดยกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบนี้ถือเป็นหลักการสำคัญเพื่อเปลี่ยนแป้งข้าวให้เป็นเจล (gelatinization) และเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง (Retrogradation) โดยยังคงปริมาณกาบาสูงและมีความพิเศษที่เป็นแป้งทนย่อยที่สูงขึ้นกว่าพื้นเดิม จนได้ผลิตภัณฑ์ข้าว GABA RS ที่เหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการโภชนการสูงและการควบคุมน้ำตาล โดยการนำข้าวมาทำข้าวงอกด้วยเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกจะทำให้ได้สาร GABA สูง และเพิ่มค่าความเป็นแป้งย่อยยาก RS ให้สูงกว่าพื้นเดิม โดยเทคนิคการนึ่งภายใต้ความดันต่างจะทำให้ข้าวเปลี่ยนแป้งข้าวให้เป็นเจลและเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างแป้งให้เป็นแป้งย่อยยากโดยการลดความชื้นด้วยเครื่องอบอินฟราเรดและเสริมเทคนิคการกระตุ้นผลิตภัณฑ์ด้วยการแช่เย็นที่อุณหภูมิต่ำ และขัดสีเป็นข้าวกล้อง จนได้ผลิตภัณฑ์ข้าว GABA RS
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
|||||||
|