ชุดทดสอบสำหรับตรวจหาเชื้อรา Candida glabrata และ C. albicans |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 19916 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
10 อันดับอัตราการตายของประชากรไทย จากปี พ.ศ. 2557-2561 พบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากระบบภูมิคุ้มกันต่ำและการติดเชื้อจุลชีพมีสูงถึง 6 สาเหตุ ได้แก่ โรคมะเร็ง, ปอดอักเสบ, โรคเบาหวาน, โรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง, วัณโรคและภูมิคุ้มกันบกพร่องจากไวรัส (เอดส์) และปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตนั้นคือ การติดเชื้อในกระแสเลือดและจุลชีพที่มีความสำคัญต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นคือเชื้อรา Candida spp. อันดับที่หนึ่งได้แก่เชื้อ Candida albicans อันดับที่สองได้แก่ Candida glabrata และที่น่าวิตกคือเชื้อ C. glabrata มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และความไวในการตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ เช่น แอคไคโนแคนดิน (echinocandin) และฟลูโคนาโซลที่ใช้ในการรักษาน้อยลง ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเพาะเลี้ยงแยกเชื้อ C. glabrata เพื่อช่วยในการวินิจฉัยให้รวดเร็ว วางแนวทางในการรักษาถูกต้องยิ่งขึ้น และที่สำคัญในท้องตลาดยังไม่มีชุดทดสอบสำหรับตรวจหาเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ในการทดสอบเพียงครั้งเดียว (Duo-test kit) |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ชุดทดสอบสำหรับตรวจหาเชื้อรา C. glabrata และ C. albicans มีลักษณะเป็นหลอดทดลองบรรจุวุ้นอาหารเลี้ยงเชื้อ, น้ำตาลกลูโคส, น้ำตาลมอลโทส, น้ำตาลทรีฮาโลส, เปปโตน และยาต้านเชื้อราฟลูโคนาโซล (fluconazole) ในสภาวะบ่มเลี้ยงที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส พบการเจริญของเชื้อส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกรดด่าง (pH) ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ช่วยให้อ่านผลได้ง่ายขึ้น |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
  |
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นายซูกิมพลี หนิจิบุลัด |
โทรศัพท์มือถือ |
0872990181 |
Email |
sukimplee.ni@gmail.com |
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดทดสอบสำหรับตรวจหาเชื้อรา Candida glabrata และ C. albicans"
|
|