![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผศ.ณัฐณิชา ทวีแสง
ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 24392
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีประชากรอาศัยอยู่หลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวกะเหรี่ยงโปร์ และมอญ ทำให้ชุมชนมีความหลากหลายด้านภูมิปัญญาด้านอาหาร “ลาบกะเหรี่ยง” เป็นอาหารท้องถิ่น ซึ่งการทำลาบกะเหรี่ยงตามภูมิปัญญาของท้องถิ่นจะต้องมีการทำพริกลาบ ซึ่งพริกลาบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด การทำพริกลาบนั้นนิยมใส่ เทียนตาตั๊กแตน ซึ่งเป็นพืชที่พบมากในชุมชนมาเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากเทียนตาตั๊กแตนมีกลิ่นหอมฉุนเป็นเอกลักษณ์ ช่วยในการดับกลิ่นคาว โดยนำผลแก่แห้งมาคั่วให้หอม นำมาโขลกให้ละเอียด และนำไปใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหารต่างๆ จึงทำให้ลาบมีกลิ่นหอมและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบท้องถิ่น โดยนำมาต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นการยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ เพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคในการรับประทานลาบ สะดวกและง่ายต่อการปรุงอาหาร สามารถนำไปขยายเพื่อผลิตในเชิงพาณิชย์
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
|
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานจัดการผลประโยชน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี | |
|||||||
|