อุปกรณ์แหย่ไข่มดแดง
นักวิจัย  
นางสาวกาญจนา สุภาพ
นางสาวภรณี หลาวทอง

คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 17561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ไข่มดแดงเป็นตัวอ่อนของมดแดงที่อยู่ในช่วงเป็นดักแด้ ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดทรงรีสีขาว ขนาดไข่มดแดงของมดงานและมดตัวผู้มีขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร และตัวอ่อนของมดราชินีมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า แม่เป้ง ไข่มดแดงและตัวอ่อนของมดราชินีเป็นแหล่งอาหารโปรตีนของคนชนบทซึ่งพบว่า ไข่มดแดงมีโปรตีน 8.2 กรัมต่อไข่ 100 กรัม และมีไขมันน้อยกว่าไข่ไก่ การเก็บไข่มดแดงส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม การเก็บไข่มดแดงทำได้โดยการแหย่ไข่มดแดง โดยนำตะกร้ามัดติดปลายไม้ไผ่ แหย่ให้รังมดแดงตกลงมาในตะกร้า จากนั้นก่อนนำตะกร้าตากแดดเพื่อให้ตัวมดแดงหนี หรือนำมดแดง และไข่มดแดงเทลงถังที่มีน้ำเพื่อแยกไข่มดแดงและมดแดงออกจากกัน ต่อมามีการพัฒนาเทคนิคการเก็บไข่มดแดงด้วยการนำขี้เถ้าโรยที่รังมดแดงและตัวมดแดง ซึ่งทำให้มดแดงหายใจไม่ออก และลดความเสี่ยงต่อการถูกมดแดงกัด วิธีการเก็บไข่มดแดงด้วยการแหย่ไข่มดแดงดังที่กล่าวมา ทำให้มดแดงตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมดนางพญาตายด้วยจะทำให้รังมดแดงร้างไม่สามารถสืบเผ่าพันธุ์ได้ วิธีการดังกล่าวทำให้ประชากรมดแดงลดลงอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบต่อระบบนิเวศของมดแดง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
อุปกรณ์แหย่ไข่มดแดง ด้วยการออกแบบกลไกของอุปกรณ์เก็บ ไข่มดแดงด้วยการแหย่ไข่มดแดง โดยออกแบบให้มีชุดแหย่รังมดแดง ตาข่ายรองรับรังมดแดง และตาข่ายรองรับไข่มดแดง ซึ่งความมุ่งหมายของการประดิษฐ์นี้ คือ การจัดให้มีอุปกรณ์แหย่ไข่มดแดง เพื่อจัดเก็บไข่มดแดง ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการตายของมดแดงและลดความเสี่ยงต่อการถูกมดแดงกัด
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ. ดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง
โทรศัพท์ 044-233000 ต่อ 5100-5101
โทรศัพท์มือถือ 081-5476552
Email skycrow_ann@hotmail.com, unisearch.rmuti@gmail.com
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์แหย่ไข่มดแดง"