![]() |
||||||
นักวิจัย
นางฉวีวรรณ คงแก้ว
นายสุริยกมล มณฑา นางปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001903 ยื่นคำขอวันที่ 11 สิงหาคม 2563
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ตลาดถุงมือยางมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีสถานการณ์ไวรัสและโรคอุบัติใหม่จากไวรัสโคโรนา (COVID-19) MARGMA ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูล ด้านการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมถุงมือยางของมาเลเซีย คาดการณ์ปริมาณการใช้ถุงมือยางโลกในปี 2564 มีแนวโน้มอยู่ที่ 420,000 ล้านชิ้น ขยายตัว 17% จากปีก่อนหน้า
ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางจากทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ซึ่งในปี 2563 ปริมาณการส่งออก 49,806 ล้านชิ้น แต่ถุงมือยางธรรมชาติจะมีข้อจำกัดของผู้ซื้อในบางประเทศเนื่องจากปัญหาการแพ้โปรตีนในถุงมือยาง ทำให้ถุงมือยางธรรมชาติไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับผู้มีอาการแพ้โปรตีน ทีมวิจัยคิดค้นกระบวนการผลิต ถุงมือยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ enR/ProX® โดยสามารถลดปริมาณโปรตีนทั้งหมด (Total protein) และ ลดโปรตีนที่ก่อให้เกิดการแพ้ (Allergenic protein) เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ |
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
o ลดปริมาณโปรตีนในผลิตภัณฑ์ถุงมือยางธรรมชาติ
o เพิ่มมูลค่าของถุงมือยางธรรมชาติ โดยมีประสิทธิภาพการใช้งานเหมือนเดิม • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี o สามารถปรับกระบวนการให้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตถุงมือยางแบบจุ่มได้ |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||
![]() ![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) | |
|||||
|