การให้วัคซีนปลานิลแบบแช่โดยใช้นาโนวัคซีนที่มีคุณสมบัติเกาะติดเยื่อเมือก
นักวิจัย  
ดร. ณัฎฐิกา แสงกฤช
และ ดร.คทาวุธ นามดี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801001293 ยื่นคำขอวันที่ 2 มีนาคม 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปลานิล (Oreochromis niloticus) เป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เลี้ยงง่าย และมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว จัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งโรคสำคัญหนึ่งในปลานิลที่สร้างความเสียหายกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาคือ การติดเชื้อที่เกิดจาก Flavobacterium columnare เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะติดทางเหงือกและผิวหนังของปลา ทีมวิจัยได้ออกแบบและสังเคราะห์วัคซีนเชื้อตายจากเชื้อฟลาโวแบคทีเรียมที่ก่อโรคในปลานิล ในรูปอนุภาคนาโนที่มีประจุบวกโดยใช้โพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติในการเกาะติดเยื่อเมือก ล่าสุดทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนดังกล่าว พบว่าอนุภาคนาโนที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติในการเกาะติดเยื่อเมือกเหงือกปลา ที่ภายหลังจากให้วัคซีนในปลานิลแบบแช่แล้วสามารถทนต่อการเกิดโรคติดเชื้อฟลาโวแบคทีเรียม โดยลดอัตราการตายของปลานิลที่มีการจำลองระบาดของเชื้อได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- เป็นการใช้นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดติดเกาะเยื่อเมือกของวัคซีนเชื้อตาย
- เป็นวัคซีนแบบแช่ จึงทำได้ง่ายกับปลาทีละจำนวนมากๆ สามารถใช้ทดแทนการให้วัคซีนปลาแบบฉีดซึ่งในทางปฏิบัติต้องใช้แรงงานจำนวนมากเนื่องจากต้องฉีดทีละตัว
- ต้นทุนของการทำวัคซีนแบบจุ่มมีราคาถูกลงมากเมื่อเทียบการให้วัคซีนแบบฉีด
- การป้องกันโรคด้วยการให้วัคซีน เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1616
Email tlo-ipb@nstda.or.th
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การให้วัคซีนปลานิลแบบแช่โดยใช้นาโนวัคซีนที่มีคุณสมบัติเกาะติดเยื่อเมือก"