กรรมวิธีการเตรียมขั้วไฟฟ้าสำหรับใช่ในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน
นักวิจัย  
ผศ.นงลักษณ์ มีทอง และคณะ

คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801005876 ยื่นคำขอวันที่ 26 กันยายน 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ตัวรับกระแส แผ่นกั้นขั้ว อิเล็กโทรไลต์ และขั้วไฟฟ้า วัสดุที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีความสามารถในการกักเก็บพลังงานแตกต่างกัน วัสดุที่ใช้โดยทั่วไป เช่น แกรไฟต์ และลิเทียมไททาเนต แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและทำให้แบตเตอรี่มีขนาดและน้ำหนักมาก
ซิลิกอนนาโนไวร์ ถูกพบว่าเหมาะสำหรับทำขั้วไฟฟ้าลบหรือแอโนด เนื่องจากมีความสามารถในการรับลิเทียมไอออนมากกว่าแกรไฟต์ถึง 10 เท่า สำหรับซิลิกอนไดออกไซด์พบใน ทราย ควอร์ท และสินแร่ซิลิเกท ผลิตได้จากแกลบ ข้าวโพด อ้อย โดยในแกลบมีส่วนประกอบของซิลิกอนไดออกไซด์สูงถึง 15-20 % เมื่อเทียบกับน้ำหนักแห้ง แต่การลดอนุภาคลงยังประสบปัญหาและมีโอกาสเสื่อมสภาพได้ง่าย ทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้นลง ทั้งกระบวนการผลิตระดับนาโนมีความซับซ้อน ยุ่งยาก
ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาวิธีการเตรียมขั้วไฟฟ้าสำหรับใช้ในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนโดยใช้แกลบ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่ำลงสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า การกักเก็บพลังงานจากกริด และกักเก็บพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- มีผลการทดลองในระดับห้องทดลอง
- แบตเตอรี่มีน้ำหนักเบา มีขนาดเล็กลง สามารถกักเก็บพลังงานสูง และราคาถูก
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
จินดาพร พลสูงเนิน
โทรศัพท์ 043-202-733
โทรศัพท์มือถือ 086-451-4455
Email chinph@kku.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการเตรียมขั้วไฟฟ้าสำหรับใช่ในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน"