การบำบัดสีในน้ำทิ้งจากการผลิตแก๊สชีวภาพของโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันด้วยเทคโนโลยีโอโซน
นักวิจัย  
รศ.ดร.จันทิมา ชั่งสิริพร
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903000357 ยื่นคำขอวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
น้ำทิ้งจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม (palm oil mill effluent, POME) มีสิ่งสกปรกในรูปของไขมันและสารอินทรีย์ปนเปื้อนในปริมาณมาก โดยส่วนใหญ่โรงงานจะมีวิธีการบำบัดน้ำทิ้งด้วยการนำมาใช้ผลิตแก๊สชีวภาพ (biogas) ที่ทำให้ได้พลังงานทดแทนมาใช้ในโรงงาน แต่น้ำที่ผ่านการบำบัดวิธีการนี้ยังไม่สามารถปล่องทิ้งโดยตรงออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เนื่องจากคุณภาพของน้ำที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ในเรื่องของค่าสี ค่า COD (Chemical oxygen demand) และค่า SS (Suspendes Solid) ซึ่งน้ำที่ผ่านระบบยังคงมีองค์ประกอบของลิกนิน (lignin) แทนนิน (tannins) กรดฮิวมิค (humic acids) และฟีนอลิค (phenolic) ที่ความเข้มข้นสูง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
โครงการนี้นำเสนอการใช้เทคโนโลยีโอโซน (Ozone technology) ซึ่งเป็นระบบบำบัดแบบ Advance Oxidation Process (AOP) โดยแก๊สโอโซน (O3) ซึ่งเป็นตัวออกซิไดซ์ที่รุนแรงที่ผลิตได้จากเครื่องผลิตโอโซน (Ozone generator) ด้วยวิธี Corona Discharge ที่ให้ความเข้มข้นของโอโซนที่สูง โดยผลงานนี้ทำศึกษากระบวนการและสภาวะที่เหมาะสมที่ทำให้เกิดการผสม การสัมผัส และการละลายของแก๊สโอโซนกับน้ำทิ้ง POME ที่ผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพ ให้สามารถบำบัดสี COD และ SS ในน้ำทิ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวพิมพ์ชนก หลิมศิริวงษ์
โทรศัพท์ 02-579-7435 ต่อ 3306
โทรศัพท์มือถือ 087-5659769
Email pimchanok@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การบำบัดสีในน้ำทิ้งจากการผลิตแก๊สชีวภาพของโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันด้วยเทคโนโลยีโอโซน"