พื้นไม้เชิงประกอบจากไม้ปาล์มน้ำมัน
นักวิจัย  
รศ.จรูญ เจริญเนตรกุล
สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903000102 ยื่นคำขอวันที่ 17 มกราคม 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปาล์มน้ำมันที่เริ่มให้ผลผลิตจะอยู่ที่ 2-3 ปี ชาวสวนสามารถเก็บทะลายได้ 25-35 ปี จากนั้นเกษตรกรต้องทำลายต้นปาล์มน้ำมันทิ้ง โดยการอัดยาให้ยืนต้นตายมาจากยอดของลำต้น เพื่อที่จะปลูกต้นปาล์มน้ำมันรุ่นต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ลำต้นของปาล์มน้ำมันมีคุณสมบัติที่เด่น คือ มีความหนาแน่นต่ำ ทำให้มีน้ำหนักที่เบากว่า เมื่อนำไปเทียบกับไม้ชนิดอื่น จึงนำไม้ปาล์มน้ำมันใช้เป็นส่วนประกอบตรงกลางของแผ่นพื้น เพื่อให้ได้แผ่นพื้นที่มีน้ำหนักเบา และสามารถนำไม้ปาล์มน้ำมันมาใช้ในงานวิศวกรรมได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
พัฒนาแผ่นพื้นไม้เชิงประกอบจากไม้ปาล์มน้ำมัน โดยการนำแผ่นไม้ปาล์มน้ำมันส่วนใกล้เปลือกมาประกบที่ด้านบนและด้านล่าง ส่วนตรงกลางของแผ่นพื้นใช่้ไม้ปาล์มน้ำมันส่วนกลาง และพัฒนาแผ่นพื้นไม้เชิงประกอบจากไม้อัดและไม้ปาล์มน้ำมัน โดยนำแผ่นไม้อัดประกบด้านบนและด้านล่าง ส่วนตรงกลางของแผ่นใช้ไม้ปาลม ศึกษาความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก ความสัมพันธ์ระหว่างกำลัง การรับน้ำหนัก ความยาวช่วง และความหนาของแผ่นพื้นไม้ พบว่า แผ่นพื้นไม้เชิงประกอบสามารถนำมาใช้ทดแทนพื้นไม้ที่ใช้ในบ้านพักอาศัยทั่วไป ซึ่งสามารถรับน้ำหนักบรรทุกที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวพิมพ์ชนก หลิมศิริวงษ์
โทรศัพท์ 02-579-7435 ต่อ 3306
โทรศัพท์มือถือ 087-5659769
Email pimchanok@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "พื้นไม้เชิงประกอบจากไม้ปาล์มน้ำมัน"