สารชีวภัณฑ์จากราเอนโดไฟด์เพื่อควมคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก
นักวิจัย  
ดร. ศิระประภา มหานิล
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002115 ยื่นคำขอวันที่ 16 สิงหาคม 2562
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001191 ยื่นคำขอวันที่ 2 มิถุนายน 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
โรคแอนแทรคโนสหรือโรคกุ้งแห้งเป็นโรคที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งของการปลูกพริกในประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลก การป้องกันกำจัดโรคนี้ต้องใช้สารเคมีหลายชนิด ในปริมาณสูง ส่งผลให้มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และทำให้เชื้อราสาเหตุโรคพืชเกิดอาการดื้อยา ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาสารชีวภัณฑ์เพื่อเป็นตัวเลือกในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก เช่น ไตรโคเดอร์มา หรือ บาซิลัส ซับทีลิส แต่เนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคนี้ (Collectotrichum spp.) มีหลายสปีชีส์และเป็นกลุ่มของเชื้อราที่มีความซับซ้อนสูงมาก ทำให้สารชีวภัณฑ์ที่มีอยู่ไม่สามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสได้ทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า ราเอนโดไฟด์ซึ่งทำการแยกจากต้นโกงกางจำนวน 2 สายพันธุ์ได้แก่ Fusarium striatum, NG27B และ F. striatum, NG03B มีความสามารถในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากสารสกัดจากราเอนโดไฟด์ที่ความเข้มข้นเพียง 5 mg/ml สามารถควบคุมการงอกของสปอร์ และการเจริญเติบโตของเชื้อ C. truncatum และ C. acutatum ได้ถึง 100%
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1.เป็นการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของเชื้อราที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ พืช สัตว์ รวมถึงจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม มีความเจาะจงต่อเป้าหมาย (เชื้อราสาเหตุโรคพืช) และไม่มีสารเคมีตกค้างบนผลพริก
2.เชื้อราเอนโดไฟด์สองสายพันธุ์นี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว สร้างสปอร์ได้ดี ดังนั้นการผสมสปอร์ของราเอนโดไฟด์ไปในดิน จะช่วยให้ราเอนโดไฟด์เข้าไปอาศัยในต้นพริกโดยผ่านทางราก และเชื้อราเอนโดไฟด์จะไปแย่งอาหาร แย่งพื้นที่ของเชื้อโรคพืช ซึ่งจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของเชื้อโรคได้
3.เชื้อราเอนโดไฟด์สองสายพันธุ์นี้สามารถสร้างสารเมแทบอไลต์ ทุติยภูมิ (secondary metabolite) ดังนั้น เชื้อราเอนโดไฟด์ที่อาศัยในพริกจะมีการปล่อยสารเมแทบอไลต์ ทุติยภูมิ ที่มีฤทธิ์ในการทำลายการงอกของสปอร์ และการยับยั้งการสร้างเส้นใยของเชื้อราสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในพริกได้
4.เชื้อราเอนโดไฟด์สองสายพันธุ์นี้สามารถสร้างสารเมแทบอไลต์ ทุติยภูมิ (secondary metabolite) ในปริมาณมาก จึงทำให้สามารถสกัดสารได้ในปริมาณและเพียงพอในการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวบุษกร ก้อนทอง
โทรศัพท์ 02 579 7435 ต่อ 3307
โทรศัพท์มือถือ 08 6032 6506
Email bussagorn@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารชีวภัณฑ์จากราเอนโดไฟด์เพื่อควมคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก"