บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะชนิดอินดิเคเตอร์ความสดของผักสลัดและผลไม้ตัดแต่ง
นักวิจัย  
รศ.ดร. ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001949 ยื่นคำขอวันที่ 1 สิงหาคม 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันความนิยมในการบริโภคผักสลัดและผลไม้ตัดแต่งสดพร้อมบริโภค(fresh-cut produce) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรีนโอ๊ค (green oak) สลัดคอส (cos) บัตเตอร์เฮด (butter head) สับปะรด มะละกอ ส้มโอ และแคนตาลูป เป็นผักผลไม้ที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคทั้งในและต่างประเทศ แต่การตัดแต่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พืชเกิดบาดแผลหรือเซลล์พืชได้รับความเสียหาย ทำให้เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase, PPO) ทำปฏิกิริยากับสับสเตรททำให้ผักสลัดและผลไม้ตัดแต่งเกิดสีน้ำตาล นอกจากนี้บาดแผลหรือรอยตัดแต่งกระตุ้นให้พืชมีการหายใจสูงขึ้น ทำให้เสียคุณค่าทางโภชนาการหลังการแปรรูป การเข้าทำลายของจุลินทรีย์ทางบาดแผล ทำให้เกิดการเน่าเสีย รวมทั้งถ้ามีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่การสังเกตการเสื่อมเสียของผักสลัดและผลไม้ตัดแต่งพร้อมบริโภคจากลักษณะภายนอกโดยผู้บริโภคเป็นไปได้ค่อนข้างยาก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. ผลิตอินดิเคเตอร์สำหรับวัดความสดของผัก/ผลไม้ตัดแต่ง ซึ่งมีต้นทุนต่ำ และสามารถบอกคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ง่ายด้วยตาเปล่า
2. ได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ สำหรับพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
3. เป็นแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ในการส่งออกผักและผลไม้ตัดแต่งและผลไม้สด
4. เพิ่มมูลค่าให้กับ ผัก/ผลไม้ ตัดแต่งสดของไทย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวบุษกร ก้อนทอง
โทรศัพท์ 02 579 7435 ต่อ 3307
โทรศัพท์มือถือ 08 6032 6506
Email bussagorn@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะชนิดอินดิเคเตอร์ความสดของผักสลัดและผลไม้ตัดแต่ง"