ระบบทุ่นปั่นไฟฟ้าจากคลื่นทะเล
นักวิจัย  
นายจุติพงศ์ ภูสุมาศ
ผศ.ดร.สมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์
ผศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1701002721 ยื่นคำขอวันที่ 17 พฤษภาคม 2560
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พลังงานจากคลื่นทะเลเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่สำคัญ ด้วยการเคลื่อนที่อย่างเป็นจังหวะและมีปริมาณพลังงานสูง ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากคลื่นทะเลในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะนำพลังงานในส่วนนี้มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ของทุ่นผลัก เพื่อให้ขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กเกิดเป็นไฟฟ้า หรือการเคลื่อนที่ขึ้นลงของทุ่นผลักก้านชักของเครื่องปั่นไฟฟ้า แต่ยังประสบปัญหาด้านการใช้งานอยู่คือ น้ำทะเลเข้าระบบได้ง่าย เนื่องจากตัวเครื่องปั่นไฟฟ้าติดตั้งอยู่ใต้น้ำ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบ ทำให้ไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ระบบทุ่นปั่นไฟฟ้าจากคลื่นทะเลจากการประดิษฐ์นี้ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้การส่งผ่านพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ของเหลวทำงานเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านพลังงาน มีหลักการทำงานคือ เมื่อคลื่นน้ำทะเลยกตัวขึ้นและลง จะส่งให้ทุ่นที่ลอยตัวอยู่บนผิวทะเลยกตัวขึ้นและลงตามไปด้วย ก่อนจะส่งแรงทางกลให้กับของเหลวทำงาน ก่อนของเหลวทำงานจะส่งพลังงานกลไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจากการคำนวณเบื้องต้น พบว่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ผลิตได้มีค่าเท่ากับ 1.67 กิโลวัตต์ เมื่อติดตั้งทั้งหมด 4 กระบอกสูบ ทำงานตลอดทั้งปีจะได้ปริมาณไฟฟ้า 58,633 หน่วย คิดเป็นมูลค่ากว่าสองแสนบาทต่อปี
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สิริรัตน์ เพ็ญศิริกุล
โทรศัพท์ 02-218-4195 ต่อ 112
Email sirirat.pe@chula.ac.th
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบทุ่นปั่นไฟฟ้าจากคลื่นทะเล"