เส้นใยจากกาบกล้วย
นักวิจัย  
นางสาวโสภิดา วิศาลศักดิ์กุล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003000188 ยื่นคำขอวันที่ 30 มกราคม 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์งานหัตถรรมจำนวนมากนิยมผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ โดยนำไปผ่านกระบวนการถักทอเป็นสิ่งของหรือเครื่องใช้ต่างๆ ส่งผลให้การพัฒนาเส้นใยจากพืชในปัจจุบันได้รับความนิยมสูงขึ้น และสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตเส้นใยและกลุ่มเกษตรเป็นจำนวนมาก
ในประเทศไทยมีการปลูกกล้วยเป็นจำนวนมาก และต้นกล้วยเมื่อมีการออกผลผลิตแล้วเกษตรกรมักจะต้องตัดต้นกล้วยที่ให้เครือต้นนั้นทิ้ง แต่เมื่อตัดต้นกล้วยออกแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาขยะทางการเกษตรขึ้น ซึ่งเกษตรกรก็จะนำต้นกล้วยเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้เพียงการใช้เป็นปุ๋ยบนดินเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อมีการศึกษาข้อมูลจะพบว่ากาบที่หุ้มลำต้นกล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นเส้นใยหรือเชือกได้ เนื่องจากเส้นใยกล้วยถือได้ว่าเป็นเส้นใยที่มีความแข็งแรงที่สุดในกลุ่มของเส้นใยธรรมชาติทั้งหมด มีความแข็งแรงเป็น 3 เท่าของเส้นใยฝ้าย ผู้ประดิษฐ์จุงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเส้นใยจากกาบกล้วย เพื่อทดแทนเส้นใยสังเคราะห์ และเป็นเส้นใยธรรมชาติทางเลือกมาใช้ในการประดิษฐ์ผลงานหัตถกรรม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- เส้นใยกล้วยเป็นเส้นใยที่มีความแข็งแรงที่สุดในกลุ่มของเส้นใยธรรมชาติทั้งหมด
- เป็นการลดปริมาณขยะของต้นกล้วยที่ถูกตัดทิ้งหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต
- กรรมวิธีการผลิตไม่ซับซ้อน สามารถใช้ได้ตั้งแต่ชุมชน จนถึงระดับธุรกิจขนาดใหญ่
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณมยุรี จอยเอกา/คุณฉัตรวดี สายใยทอง/คุณพัชรี ซิลวา
โทรศัพท์ 025494493
โทรศัพท์มือถือ 0831516740,0882472271
Email mayuree_j@rmutt.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เส้นใยจากกาบกล้วย"