วัสดุเคลือบผิวนาโนเซลลูโลส สำหรับยืดอายุ ผัก ผลไม้ หรือไม้ดอก หลังการเก็บเกี่ยว
นักวิจัย  
ดร.กมลวรรณ ภาคาผล
รศ.ดร.ดวงดาว อาจองค์
ผศ.ดร.กนกวรรณ เสรีภาพ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002641 ยื่นคำขอวันที่ 10 ตุลาคม 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ลดการหายใจของพืชผล ช่วยบรรเทาการเผาผลาญพลังงานของพืชหลังเก็บเกี่ยว และลดการสูญเสียความชุ่มชื้นจากผิวเซลล์และการคายน้ำ จึงช่วยลดความเสียหายของผลผลิตระหว่างการขนส่งและคงสภาพสินค้าที่ยังได้ราคาดีไว้ได้ยาวนานขึ้น ใช้สำหรับเคลือบผิว ผัก ผลไม้ หรือ ไม้ดอก เพื่อรักษาคุณภาพของพืชหลังการเก็บเกี่ยว ด้วยการ จุ่ม พ่น ทาด้วยแปรงหรือเครื่องมือชนิดใดๆ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- ยืดอายุการใช้งานของพืชหลังการเก็บเกี่ยวได้ยาวนานกว่า 3 เท่า*
- หลังจากพ่นสามารถนำไปบรรจุในภาชนะบรรจุได้เลยโดยไม่ต้องทำให้แห้ง
- ลดอัตราการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว
- ลดต้นทุนการขนส่ง
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขันสามารถขยายตลาดให้ไกลออกไปจากแหล่งผลิตได้มากกว่าเดิม


* ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความชื้น และสภาวะในการจัดเก็บ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ถิรายุ สุภากร
โทรศัพท์ 022184195-7 ต่อ 112
โทรศัพท์มือถือ 0863361486
Email tirayu.s@chula.ac.th
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วัสดุเคลือบผิวนาโนเซลลูโลส สำหรับยืดอายุ ผัก ผลไม้ หรือไม้ดอก หลังการเก็บเกี่ยว"