![]() |
||||||||
นักวิจัย
ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001003589 ยื่นคำขอวันที่ 19 มิถุนายน 2563
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากการเกิดภาวะโรคระบาด อาทิ วิกฤติ COVID-19 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการฟุ้งกระจายของเชื้อไวรัส สู่พื้นผิวต่างๆ ในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โดยรังสี UVC มีความสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งในกลุ่มของ แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว ไวรัส และยีสต์ โดยรังสี UVC เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและดวงตาของมนุษย์ ผู้ประดิษฐ์จึงคิดค้นหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC แบบแหล่งกำเนิดรังสีเคลื่อนที่ แทนการใช้แรงงานมนุษย์ในกระบวนการฆ่าเชื้อ
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบแหล่งกำเนิดรังสีเคลื่อนที่ เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้การฉายรังสี UVC แบบเคลื่อนที่ (Moving UVC-Radiation Source) ที่สามารถควบคุมทั้งระยะทางและความเร็วได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ สามารถพาแหล่งกำเนิดรังสี UVC เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ตามระยะรัศมีของหุ่นยนต์แขนกลเพื่อฉายรังสีไปยังผิวหน้าวัตถุที่ต้องการ ซึ่งสามารถปรับระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดรังสี UVC และพื้นผิวหน้าวัตถุ (Source-to-surface Distance) ให้มีความคงที่ตามที่ต้องการได้อย่างอัตโนมัติ นอกจากนี้หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC รังสีเคลื่อนที่ สามารถเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ต่างๆ โดยอาศัยเซนเซอร์ที่ติดตั้งด้านล่างของตัวรถนำทางอัตโนมัติในการตรวจจับสนามแม่เหล็กจากแถบแม่เหล็กที่ติดตั้งบนพื้น และผู้ใช้สามารถสั่งการทำงานหรือปรับแต่งพารามิเตอร์ผ่านการควบคุมทางไกล เหมาะกับการใช้ทดแทนแรงงานมนุษย์ในกระบวนการฆ่าเชื้อ เพื่อเลื่อนแหล่งกำเนิด UVC ไปในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งรังสีดังกล่าวเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและดวงตาของมนุษย์
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล | |
|||||||
|