อุปกรณ์ให้ความร้อนและหัวเผาวัสดุพรุนในรูปแบบต่างๆ
นักวิจัย  
ศ.ดร.สำเริง จักรใจ
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 1201002380
สิทธิบัตร เลขที่ 1201002381
สิทธิบัตร เลขที่ 1201002382
สิทธิบัตร เลขที่ 1201006505
สิทธิบัตร เลขที่ 1801001063
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เป็นการพัฒนาอุปกรณ์ให้ความร้อนและหัวเผาวัสดุพรุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมโดยมีรูปแบบดังนี้

1 อุปกรณ์ให้ความร้อนและหัวเผาวัสดุพรุนในตัวเดียวกันชนิดรีเจนเนอเรทีฟ
2 หัวเผาวัสดุพรุนสำหรับเชื้อเพลิงเหลวชนิดรีเจนเนอเรทีฟและไร้การแตกตัวเป็นฝอยละออง
3 ระบบหัวเผาวัสดุพรุนสมรรถนะสูงสำหรับเชื้อเพลิงเหลว
4 ระบบหัวเผาวัสดุพรุนประเภทเหนี่ยวนำอากาศด้วยตัวเองสำหรับเชื้อเพลิงเหลวและเชื้อเพลิงแก๊ส
5 ระบบหัวเผาวัสดุพรุนสมรรถนะสูงชนิดสามารถควบคุมอุณหภูมิของเชื้อเพลิงได้

โดยที่อุปกรณ์ต่างๆถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การถ่ายเทความร้อน การใช้เชื้อเพลิง และลดการก่อก๊าซพิษจากการเผาไหม้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นการพัฒนาอุปกรณ์ให้ความร้อนและหัวเผาวัสดุพรุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถเลือกนำไปใช้ให้เหมาะกับขบวนการต่างๆ ของตนเองอย่างเหมาะสม ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่สามารถนำไปใช้ประกอบด้วย
หัวเผาเชื้อเพลิงเหลวสำหรับหม้อไอน้ำ (boiler), หัวเผาสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายนอก (external combustion engine), เตาให้ความร้อนแก่ของไหล (fluid heater) ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เครื่องผลิตแก๊สไฮโดรเจน (hydrogen reformer), ระบบหัวเผาในเครื่องยนต์กังหันแก๊ส (gas turbine), อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่มีการให้ความร้อนแก่ภาชนะหุงต้มโดยตรง (การต้ม การตุ๋น การนึ่ง หรือการทอด)
อุปกรณ์ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การถ่ายเทความร้อน การใช้เชื้อเพลิง และลดการก่อก๊าซพิษจากการเผาไหม้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.หฤษฎ์ ลีละยุวพันธ์
โทรศัพท์ 02 4709626
โทรศัพท์มือถือ 0634599924
Email haris.lee@mail.kmutt.ac.th
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์ให้ความร้อนและหัวเผาวัสดุพรุนในรูปแบบต่างๆ"