วัสดุดูดซับโลหะหนักในน้ำ
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ปารินดา สุขสบาย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จึงสนใจผลิตวัสดุดูดซับโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและลดปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อม โดยผู้วิจัยสนใจใช้แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ทมาผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีกายภาพร่วมกับเคมีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการในการบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในน้ำ โดยที่เลือกใช้แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์เป็นตัวดูดซับเนื่องจากมีปริมาณ Al2O3 อยู่ในปริมาณมาก จึงน่าจะมีศักยภาพในการดูดซับโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำได้ดีวัสดุดูดซับโลหะหนักในน้ำสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบแปลงเกษตรที่เน้นการทำเกษตรปลอดภัย หรือเกษตรอินทรีย์ โดยการติดตั้งร่วมกับเครื่องกรองน้ำมาใช้ในการรดน้ำพืชในแปลงทำให้ได้น้ำที่มีค่าโลหะหนักปนเปื้อนต่ำกว่ามาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ โดยพัฒนาเป็นตัวดูดซับ (adsorbent) เพื่อใช้ในการบำบัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำ โดยการนำแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ที่ผ่านการปรับสภาพทางกายภาพร่วมกับทางเคมี มาบำบัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำแทนการใช้ถ่านกัมมันต์ทางการค้า
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วัสดุดูดซับโลหะหนักในน้ำที่ผลิตขึ้นมีประสิทธิภาพการบำบัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำสูง ง่ายต่อการใช้งานและควบคุม อีกทั้งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เมื่อผ่านการปรับสภาพ (Regeneration) โดยวัสดุดูดซับโลหะหนักในน้ำที่ผลิตได้ดังกล่าวจะมีพื้นที่ผิวของวัสดุดูดซับเพิ่มสูงขึ้นและมีสัดส่วนของ Al:Si ที่เหมาะสม ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำได้สูงขึ้น ผลจากการทดลองพบว่ามีประสิทธิภาพในการบำบัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำได้สูงถึง ร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของ WHO (World Health Organization)

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายธนากร บุญกล่ำ
โทรศัพท์ 0-2244-5280-4
โทรศัพท์มือถือ 085-216-9190
Email tanakorn.b@ku.th, bnekkham@gmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วัสดุดูดซับโลหะหนักในน้ำ"