วัสดุดูดซับโลหะหนักในดิน
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ปารินดา สุขสบาย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พืชผักและผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักในดิน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ เมื่อร่างกายได้รับโลหะหนักในปริมาณมากเกินก็จะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
ไบโอชาร์ (biochar) จากเถ้าขี้เลื่อยจัดเป็นวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก และเป็นวัสดุที่มีรูพรุนและมีพื้นที่ผิวสูงทำให้มีศักยภาพในการดูดซับโลหะหนักได้ดี ส่วนดินขาว (Kaolin) ในประเทศไทยมีปริมาณที่สูงพบได้ในหลายจังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำปาง อุตรดิตถ์ ปราจีนบุรี ระนอง ชุมพร และนราธิวาส ซึ่งดินขาวจะมีองค์ประกอบของ Al2O3 และ Fe2O3 ทำให้มีคุณสมบัติดูดซับโลหะหนักได้ดี จากคุณสมบัติดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการใช้ไบโอชาร์จากเถ้าขี้เลื่อยร่วมกับดินขาว (Kaolin) มาเป็นวัสดุปรับปรุงดินในการดูดซับโลหะหนักในดิน เพื่อการลดการสะสมของโลหะหนักในพืชผักเมื่อปลูกในพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนัก ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยเมื่อมีการบริโภคพืชผักเหล่านี้และยังช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนักในสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปใช้เป็นวัสดุปลูกพืชต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วัสดุดูดซับโลหะหนักในดินมีคุณสมบัติในการดูดซับโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อนำไปผสมกับดินเพื่อปลูกพืชผักในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักจะช่วยลดปริมาณโลหะหนักที่สะสมในพืชผักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัย ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในแปลงเกษตรที่เป็นการปลูกพืชตามแนวทางเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
การทดลองโดยการเติมวัสดุดูดซับในดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักในการปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ พริกขี้หนู และต้นมะเขือเปราะ ผลการทดลองพบว่าหลังการเก็บเกี่ยวพริกขี้หนู 51 วัน และต้นมะเขือเปราะ 75 วัน จะมีปริมาณโลหะหนักที่สะสมในผลของพริกขี้หนูและมะเขือเปราะ อยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานโลหะหนักในอาหาร ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายธนากร บุญกล่ำ
โทรศัพท์ 0-2244-5280-4
โทรศัพท์มือถือ 085-216-9190
Email tanakorn.b@ku.th, bnekkham@gmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วัสดุดูดซับโลหะหนักในดิน"