กระถางดินย่อยสลายได้
นักวิจัย  
ดร.อนุชา วรรณก้อน
นางรุ่งอรุณ แสนงาม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001967 ยื่นคำขอวันที่ 31 สิงหาคม 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
วัสดุเหลือทิ้งปริมาณมากจากภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม มีภาระต้นทุนในการกำจัดและอาจก่อมลพิษ ทีมวิจัยจึงนำกากของเสีย เช่น กากตะกอนน้ำจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ เถ้าหนักจากการผลิตไฟฟ้าถ่านหิน กากเยื่อกระดาษยูคาลิปตัส ฟางข้าว เศษใบไม้ แกลบ กากชา ยิปซัม ฯลฯ มาเป็นส่วนผสม โดยพัฒนาสูตร วิธีการขึ้นรูป และปรับปรุงคุณสมบัติ พบว่า เมื่อขึ้นรูปกระถางดินที่มีส่วนผสมกากของเสีย ใช้เทคนิคการหล่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เซรามิกส์และเทคนิคเจลคาสติง (Gel casting) โดยไม่ผ่านการเผาเหมือนเซรามิกส์ทั่วไป สามารถทดแทนถุงปลูกพลาสติกและกระถางสลายตัวได้เมื่อเวลาผ่านไป ลดภาระเก็บถุงดำ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มมูลค่ากากของเสีย ลดต้นทุนการขนย้ายและการกำจัดกาก รวมถึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
o เพิ่มมูลค่าให้กากของเสีย จากวัสดุเหลือทิ้งสู่การนำไปใช้ประโยชน์
o การขึ้นรูปเทคนิคเจลคาสติง (Gel-casting) ต้นทุนต่ำ ทำได้ง่าย
o ทดแทนการใช้ถุงพลาสติกสีดำได้ โดยสามารถตั้งอยู่บนดินได้มากกว่า 6 เดือน
o ย่อยสลายเมื่อนำไปปลูกลงดิน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
o ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อการเพาะปลูก
o ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในครัวเรือนหรือตกแต่งสถานที่ เช่น กระถางไม้ประดับในงานเทศกาลต่างๆ
o ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงช่วงระยะเวลาหนึ่งและสามารถย่อยสลายได้เมื่อเวลาผ่านไป
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1618
Email tlo-ipb@nstda.or.th

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระถางดินย่อยสลายได้"