แป้งข้าวหอมมะลิสำเร็จรูป GENGIGRAIN
นักวิจัย  
ดร.ปฐมา จาตกานนท์
รศ.ดร.วิชัย หฤทัยธนาสันติ์
รศ.ดร.เพ็ญขวัญ ชมปรีดา
ดร.มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์
ดร.สุนีย์ โชตินีรนาท
ดร.จารุพร รักใหม่
นางสาวชลลดา บุราชรินทร์

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 50137
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (KAPI) ร่วมกับภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มดำเนินการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์จากปลายข้าวหอมมะลิที่ได้จากกระบวนการสีข้าว ด้วยการแปรรูปเป็น “แป้งข้าวหอมมะลิ” สำหรับทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ โดยมุ่งหวังที่จะลดปริมาณการใช้แป้งสาลีและลดการนําเข้าจากต่างประเทศ
... จากจุดเริ่มต้นนั้น ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จนได้เป็นโรงงานต้นแบบผลิตแป้งข้าวและแป้งข้าวผสมสำเร็จรูปสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ

ผลิตภัณฑ์แป้งข้าวหอมมะลิสำเร็จรูป “GENGIGRAIN” ผ่านการวิจัยและพัฒนาสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลิตจากข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการโม่ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ มีมาตรฐาน จนได้เนื้อแป้งที่เนียนละเอียด มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบของขนม จึงให้เนื้อสัมผัสเนียนนุ่ม พร้อมกลิ่นหอมที่น่ารับประทาน
ปัจจุบันมีแป้งข้าวหอมมะลิ 4 สูตร ดังนี้
1. แป้งข้าวหอมมะลิล้วน
2. แป้งข้าวหอมมะลิสำหรับทำเค้กเนย
3. แป้งข้าวหอมมะลิสำหรับทำโดนัท วัฟเฟิล แพนเค้ก
4. แป้งข้าวหอมมะลิสำหรับทำบราวนี่
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แป้งข้าวหอมมะลิ
 ปราศจากกลูเตน (Gluten-Free)
 ให้เนื้อสัมผัสนุ่ม ฟู และเบา
 มีกลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิเป็นพิเศษ ให้คุณค่าทางโภชนาการ
 เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพหรือมีข้อจำกัดด้านอาหาร
 ใช้ทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์ขนมอบ ทอด และนึ่งได้
 สามารถผลิตได้ปริมาณมาก
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ชลลดา บุราชรินทร์
โทรศัพท์ 02-9428600 ต่อ 213
โทรศัพท์มือถือ 0802695536
Email chonlada.bu@ku.th
สถาบันผลิตผลเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แป้งข้าวหอมมะลิสำเร็จรูป GENGIGRAIN"