เครื่องสร้างลวดลายบนไม้ด้วยกระแสสลับแรงดันสูง
นักวิจัย  
อนุชา ริกากรณ์
ดร.ยศภัทรชัย คณิตปัญญาเจริญ
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในการทำลวดลายบนไม้ มีการทำหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานและความต้องการของผู้ใช้งาน จากที่ได้สำรวจการทำลวดลายบนไม้แบบต่างๆ จะมีที่นิยมกันทั่วหลาย เช่น การเซาะร่อง การแกะสลัก การแกะเป็นลายเส้น การแกะเป็นรูปร่างนูน การใช้ความร้อนจี้ การเผาเหล็กให้ร้อนนำไปทาบไม้ให้เกิดลวดลาย การใช้ไฟติดแก๊สแล้วเผา ปัจจุบันใช้เครื่องมือและเครื่องจักรมาช่วยในการทำลวดลายตามต้องการ การทำลวดลายบนไม้ด้วยกระแสไฟฟ้าสลับแรงดันสูง ในอดีตมีการใช้ไฟฟ้าที่แรงดันคงที่ การทาลายไม้แบบนี้เกิดการเผาไหม้ที่รวดเร็วและเกิดลวดลายที่ไม่สวยงามและลายไหม้ไม่ลึก ไม่เกิดรอยไหม้ที่คมชัด ลวดลายไม่สวยงาม เกิดความเสียหายกับไม้ได้ง่าย และเกิดอันตรายกับผู้ใช้งานเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและกระแสไฟฟ้ารั่วลงกราวด์ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะประดิษฐ์เครื่องสร้างลวดลายบนไม้ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันสูงขึ้น เพื่อให้สามารถทำลวดลายไม้ให้ลึกและควบคุมไม่ให้เกิดการลุกไหม้ที่รวดเร็วเกินไป ตลอดจนสามารถนำไปใช้ง่าย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องสร้างลวดลายบนไม้ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันสูง ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์จากไม้ที่มีลวดลายที่ไม่แปลกใหม่ ไม่สะดุดตากับผู้พบเห็น และยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์จากไม้เพิ่มคุณค่า เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ทาจากไม้ ลดอันตรายจากการปฏิบัติงาน โดยลักษณะของวงจร เครื่องสร้างลวดลายบนไม้ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันสูงที่สร้างขึ้นมานี้ มีระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้ารั่วลงกราวด์ สามารถปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมกับชนิดและขนาดของไม้ได้ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการทาลวดลายบนไม้ได้ ชุดหัวจับทาจากที่จับลวดเชื่อมไฟฟ้า ทาให้จับแน่น ปรับมุมการวางลวดตัวนาได้หลากหลาย วางมุมตามไม้ที่จะนามาทาลวดลายได้ ที่จับทนต่อความร้อนและเป็นฉนวนอย่างดี ใช้พัดลมเป่าควันที่เกิดจากการทาลวดลาย เพื่อป้องกันฝุ่นละอองทาอันตรายกับผู้ใช้งาน มีอุปกรณ์วัดระดับแรงดันไฟฟ้าที่นาไปใช้งานทาให้สามารถทราบระดับแรงดันที่นาไปใช้กับไม้ชนิดต่างๆได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสกลวัฒน์ กมลงาม
โทรศัพท์ 055416601 ต่อ 1376
โทรศัพท์มือถือ 0854029011
Email nutvidya@gmail.com
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องสร้างลวดลายบนไม้ด้วยกระแสสลับแรงดันสูง"