เทคนิคการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้มเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
นักวิจัย  
นางสาวจันทร์ฉาย ยศศักดิ์ศรี
นางปฏิญญา จิยิพงศ์
นางสาวเจนจิรา จันทร์มี
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปลาส้มเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมักโดยนำปลามาหมักด้วยเกลือ ข้าวเจ้าสุกหรือข้าวเหนียวนึ่ง และกระเทียม ในปริมาณที่เหมาะสมทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 3 – 5 วัน ก็จะได้ปลาส้มที่มีรสเปรี้ยวซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแลคติกเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่นอกจากผลิตกรดแลกติกและทำให้ผลิตภัณฑ์มีรสเปรี้ยวแล้วยังได้สารที่ทำให้เกิดกลิ่นรส โดยปกติกระบวนการหมักอาหารมีปัจจัยที่มีผลต่อการหมัก ได้แก่ ความเข้มข้นหรือปริมาณเกลือ อุณหภูมิ ซึ่งการผลิตปลาส้มต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว รวมทั้งถ้าไม่มีสุขลักษณะที่ดีในการผลิตก็จะมีโอกาสเกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ได้สูง และเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้ได้มาตรฐาน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร หนองบัวลำภู หนองคาย และนครพนม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้พัฒนากระบวนการผลิตปลาส้มโดยใช้เทคโนโลยีการลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น แซลโมเนลลา สแตฟิโลคอกคัส ออเรียส บาซิลลัส ซีเรียส เอสเซอริเซีย โคไล เป็นต้น เพื่อควบคุมคุณภาพผลิตภัณธ์ปสาส้มให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางปฏิญญา จิยิพงศ์, นางสาวจันทร์ฉาย ยศศักดิ์ศรี
โทรศัพท์ 022017415-6
โทรศัพท์มือถือ -
Email patinya@dss.go.th, janchay@dss.go.th
สำนักเทคโนโลยีชุมชน ,กรมวิทยาศาสตร์บริการ

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เทคนิคการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้มเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์"