เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกเมล็ดพืช
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สุพรรณ ยั่งยืน
อาจารย์ ดร.เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา
ผศ.ดร.จักรมาส เลาหวณิช
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801007105 ยื่นคำขอวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การเพาะงอกเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างการเจริญเติบโตของพืช กระบวนการเพาะงอกจะส่งผลต่อสารอาหารในเมล็ดพืช ทำให้มีปริมาณสารสำคัญจำนวนมาก ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีผู้นิยมรับบริโภคพืชงอกกันเป็นจำนวนมากเนื่องจากพืชงอกปลอดสารพิษ และในพืชงอกจะประกอบไปด้วยสารอาหารและพลังงานต่างๆ จำนวนมากกว่าพืชโดยปกติ ในปัจจุบันจะมีการงอกหลายวิธี เช่นนำพืชที่ต้องการงอกมาแช่น้ำและล้างออกให้สะอาดแล้วนำมาเพาะบนตระแกรง คลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำให้ชุ่ม ในภาชนะปิด ทิ้งไว้ในอุณหภูมิแวดล้อม (Ambient temperature) ก็จะได้พืชงอก แต่ในระหว่างการแช่จะใช้เวลานาน ควบคุมยาก มีกลิ่นเหม็นอับ การงอกไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำในปริมาณมาก โดยพบว่ามีวิธีทางเคมีช่วยกระตุ้นให้เกิดการงอกของเมล็ด ได้แก่ การปรับสภาพน้ำแช่ด้วยการเติมสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด-ด่าง แคลเซียมคลอไรซ์ ไคโตซาน ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น หรือการปรับสภาพน้ำแช่ให้มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่วิธีดังกล่าวเป็นการเพิ่มต้นทุนและขั้นตอนการผลิต หากเป็นการผลิตเมล็ดเพื่อบริโภคจะไม่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารไม่พึงประสงค์
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
จากประเด็นดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์ เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกเมล็ดพืช เพื่อช่วยเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกเมล็ดพืชให้เกิดขึ้นภายในระยะ 24 ชั่วโมง ซึ่งรวดเร็วกว่าวิธีการโดยทั่วไป โดยใช้หลักการให้น้ำไหลผ่านเมล็ดพืชเป็นคาบเวลาสลับกับการหยุดบ่มเมล็ดพืชเป็นวัฎจักรที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องปรับสภาพน้ำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือเติมสารกระตุ้นหรือสารเร่งให้เมล็ดงอกได้เร็ว เช่น สารมีฤทธิ์เป็นกรด-ด่าง แคลเซียมคลอไรซ์ ไคโตซาน ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น และใช้น้ำหมุนเวียนในถังเดียวทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เมล็ดพืชที่งอกมีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม การงอกสม่ำเสมอ เนื้อสัมผัสดี สามารถผลิตได้มากและช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าแรงงานคนและสามารถนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณวันวิสาข์ บุญกล้า / คุณอทิตยา โพนทอง
โทรศัพท์ 043754192
โทรศัพท์มือถือ 0933256594 / 0885624463
Email Ying.ipmsu@gmail.com, Msu_ipmo@hotmail.com
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกเมล็ดพืช"