![]() |
||||||||
นักวิจัย
อาจารย์กฤตานน ประเทพา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1901003937 ยื่นคำขอวันที่ 25 มิถุนายน 2562
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อัคคีภัย เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นประกอบกับวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง เกิดการลุกไหม้ต่อเนื่องและลุกลามไปบริเวณใกล้เคียง สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) แบ่งออกเป็นสองแบบ คือ แบบแมคคานิคอล (Mechanical Heat Detectors) เมื่อตรวจจับความร้อนได้ อุปกรณ์ภายในจะไม่คืนสู่สภาพเดิม ต้องเปลี่ยนใหม่ มีราคาถูก และแบบอิเลกทรอนิกส์ (Electronic Heat Detectors) ภายหลังตรวจจับความร้อนได้ อุปกรณ์ภายในจะคืนสู่สภาพเดิมอัตโนมัติ แต่มีราคาสูง ต่อมามีการพัฒนาเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อตรวจจับความร้อนอย่างแม่นยำ แต่ระหว่างที่อุปกรณ์ทำงาน อุปกรณ์ต้องใช้พลังงาน และใช้สายไฟในการรับส่งสัญญาณ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น สายไฟชำรุด หรือพลังงานที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไม่เพียงพอ จะเกิดอันตรายจากอัคคีภัยขึ้นได้
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนด้วยเทอร์โมอิเล็กทริกไร้สาย-ไร้พลังงาน เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน สามารถตรวจจับความร้อนโดยไม่ใช้พลังงาน โดยใช้หลักการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า เมื่อเกิดอัคคีภัยจะเกิดการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไปขับเคลื่อนแผงวงจรอุปกรณ์จากนั้นวงจรอุปกรณ์ส่งสัญญาณไร้สายจะส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณเพื่อแจ้งเตือนอัคคีภัย ภายหลังจากการตรวจจับความร้อน อุปกรณ์ภายในจะกลับคืนสู่สภาพเดิมโดยอัตโนมัติ เป็นการลดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังทดแทน
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
|||||||
|