![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผศ.นพ.ศรัณย์ วรศักดิ์วุฒิพงษ์
รศ.ดร.ภญ.จารุภา วิโยชน์ ผศ.ทพ.ดร.อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1701006352 ยื่นคำขอวันที่ 9 ตุลาคม 2560
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การเกิดแผลเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย อาจลุกลามจนทำให้สูญเสียนิ้วเท้าหรือขาได้ การใช้ผลิตภัณฑ์วัสดุปิดแผลเป็นส่วนสำคัญในการรักษา ซึ่งการเลือกใช้วัสดุปิดแผลที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้แผลนั้นหายเร็วและเพิ่มคุณภาพชีวิต คณะผู้วิจัยจึงหาวัสดุปิดแผลแบบใหม่โดยใช้สารจากธรรมชาติที่วัตถุดิบหาได้ง่ายภายในประเทศ และมีประสิทธิภาพในการรักษา ได้แก่ ไฟโบรอินและสารสกัดจากวุ้นว่านหางจระเข้ ร่วมกับการผลิตสารสกัดและวัสดุปิดแผลที่ไม่มีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์และพลังงานสูง และไม่ต้องใช้เครื่องมือชั้นสูงที่มีราคาแพง ทำให้นอกจากไม่เป็นการสร้างมลภาวะแล้วยังทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์ลดลง ส่งผลให้เกิดความเป็นไปได้ในการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ราคาเหมาะสมที่ผู้ป่วยทุกสถานะสามารถเข้าถึงได้ โดยที่ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับรางวัล Nagai Award 2012 จาก Tokyo, Japan และได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ในงาน 45TH INTERNATIONAL EXHIBITION OF INVENTIONS GENEVA 2017 แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของงานได้
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วัสดุปิดแผลไฟโบรอินที่ผสมสารสกัดจากวุ้นว่านหางจระเข้ ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีแหล่งภายในประเทศและมีราคาถูก ไม่มีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์และพลังงานสูง มีกระบวนการควบคุมคุณภาพการผลิตเพื่อให้ได้สารสกัดที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีสม่ำเสมอทุก batch ของการผลิต กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้เครื่องมือชั้นสูงที่มีราคาแพง ไม่มีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์และพลังงานสูง
สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ต้องเปลี่ยนแผลบ่อยๆ โดยสามารถอยู่ได้ 3-7 วัน Gel film ที่พัฒนาขึ้นมีความแข็งแรง มีความยืดหยุ่น สามารถโค้งงอให้ทาบกับแผลได้ และสามารถดูดซับน้ำได้ถึงประมาณ 44% โดยที่ภายหลังจากการดูดซับน้ำ จะมีลักษณะเป็น gel film ที่มีความยืดหยุ่นและคงรูปอยู่ได้ สามารถแนบติดไปกับแผลที่มีความลึกได้ดี สามรถลดอัตราการติดเชื้อได้เนื่องจากสกัดจากวุ้นว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย |
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก | |
|||||||
|