![]() |
||||||
นักวิจัย
ภญ.ผศ.เอมอร ชัยประทีป
วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803000060 ยื่นคำขอวันที่ 9 มกราคม 2561
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803000642 ยื่นคำขอวันที่ 14 มีนาคม 2561 |
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การปวดกล้ามเนื้อพบได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัยโดยจะพบมากในผู้ใช้แรงงานและผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่มักจะซื้อยาแก้ปวดทานเอง ซึ่งการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจะเกิดผลเสียกับตัวผู้บริโภค เช่น อันตรายต่อไต ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร เกิดอาการกับระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันได้มีการศึกษาถึงสมุนไพรที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดไว้มากมาย เมื่อปี พ.ศ. 2558 Mohammad Hafiz AbdulRahim และคณะได้ทำการศึกษาพบว่าพญายอ มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวด จากสารสำคัญกลุ่มฟลาโวนอยด์และไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ผลิตภัณฑ์บรรเทาปวดจากพญายอในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบยาหม่อง นอกจากนี้ตามตำรายาเพชรน้ำเอก ยังมีสูตรตำรับสมุนไพรยอดยาใช้ทา หรือประคบ “เพื่อรักษาโรคช้ำ เคล็ด ปวดบวม กระดูกเคลื่อน ยอก ขัด ลมคั่งข้อต่อภายใน” ซึ่งเป็นรูปแบบยาใช้ทา หรือประคบ ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิดที่อาจยุ่งยากในการเตรียมยา จึงได้พัฒนาพญายอและสมุนไพรยอดยาใช้ทาให้อยู่ในรูปแบบแผ่นแปะที่มีต้นทุนต่ำและสารที่ใช้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. แผ่นแปะแก้ปวดยึดติดบริเวณที่มีอาการได้ดี จึงสามารถลดความถี่ในการใช้ยา และส่งผลเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ทำให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
2. แผ่นแปะแก้ปวดมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และมีความคงตัวที่ดี 3. นำนวัตกรรมมาใช้เพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรไทย 4. ราคาต้นทุนต่อของแผ่นแปะผิวหนังไม่สูงมาก สามารถเพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ 5. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรไทย และเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ยาจากสมุนไพรไทยในรูปแบบยาที่ทันสมัยมากขึ้น |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
||||||
![]() ![]() ![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | |
|||||
|