![]() |
||||||||
นักวิจัย
ดร.ธนพัฒน์ แพ่งเกษร, นายกุศล แซ่ลี ร่วมกับหน่วยธาลัสซีเมีย มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ชุดสกัดดีเอ็นเอทางการค้าที่อาศัยหลักการแยกดีเอ็นเอด้วยซิลิก้า จำเป็นเป็นต้องใช้เครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูง ซึ่งเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสกัดดีเอ็นเอในภาคสนามได้
ชุดสกัดดีเอ็นเอที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถลดข้อจำกัดดังกล่าว โดยใช้เม็ดซิลิก้าที่มีความหนาแน่นสูงเข้าตรึงดีเอ็นเอ จากนั้นเม็ดซิลิก้าจะเกิดการตกตะกอนได้เองในทันที ทำให้สามารถคัดแยกสารชีวโมเลกุลที่ไม่ต้องการออกไปได้ โดยการดูดสารละลายส่วนเกิน และเมื่อทำการชะดีเอ็นเอออกมาจากเม็ดซิลิก้าจะได้ดีเอ็นเอที่บริสุทธิ์ ชุดสกัดดีเอ็นเอที่พัฒนาขึ้นนี้ ออกแบบให้ใช้งานได้สะดวก โดยประกอบด้วย 1) หลอดสกัดเก่ง ที่บรรจุเม็ดซิลิก้าความหนาแน่นสูง 2) น้ำยาแตกเก่ง ใช้ในการแตกเซลล์เม็ดเลือดให้เกิดการปลดปล่อยดีเอ็นเอออกมา 3) น้ำยาจับเก่ง ใช้ในการตรึงดีเอ็นเอ 4) น้ำยาล้างเก่ง ใช้ในการล้างสารชีวโมเลกุลส่วนเกินทีไม่ต้องการ และ 5) น้ำยาล้วงเก่ง ใช้ในการชะดีเอ็นเอที่บริสุทธิ์ออกมา |
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ชุดสกัดดีเอ็นเอที่พัฒนาขึ้นนี้ มีจุดเด่นที่สำคัญคือ ไม่ต้องอาศัยเครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูงในการสกัด จึงสามารถทำการสกัดได้ทุกที่ ทั้งในภาคสนาม ซึ่งอาจเป็นเขตกักกันโรคระบาด เขตทุรกันดาน หรือโรงพยาบาลชุมชน ตลอดจนสามารถใช้ในการเรียนการสอนที่มีนิสิตในชั้นเรียนจำนวนมาก นอกจากนี้วิธีที่พัฒนาขึ้นยังไม่ต้องอาศัยเอนไซม์โปรตีเนสเค เนื่องจากไม่เกิดการอุดตันเช่นเดียวกับการใช้คอลัมในชุดสกัดทั่วไป จึงเป็นการลดต้นทุนของชุดสกัด
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
มหาวิทยาลัยพะเยา | |
|||||||
|