เชื้อเห็ดป่าไมคอร์ไรซ่าในไม้เศรษฐกิจ
นักวิจัย  
นางสาวิตรี ปราโมช ณ อยุธยา, Ph.D.
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เห็ดป่าไมคอร์ไรซ่า เช่น เห็ดระโงก เห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า เป็นเห็ดที่คนไทยมีความนิยมในการรับประทาน และมีราคาสูง เนื่องจากไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้เหมือนเห็ดเศรษฐกิจทั่วไป การส่งเสริมการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซ่าทำได้โดยทำการฝากเชื้อเห็ดไว้กับพืชซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งอาศัย ปัจจุบันการปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่านิยมปลูกโดยใช้หัวเชื้อแบบน้ำ ซึ่งได้จากการนำดอกเห็ดมาปั่น หรือจากการนำเส้นใยของดอกเห็ดที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อมาปั่น แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่สามารถเก็บรักษาหัวเชื้อไว้ได้นาน เนื่องจากมีการเน่าเสียได้ง่าย และมีอัตราการเข้าอยู่อาศัยในรากพืชต่ำ เนื่องจากเชื้อเห็ดจะถูกชะล้างได้ง่าย เมื่อมีการให้น้ำที่มากเกินไป หรือมีฝนตกหนักหลังการปลูกเชื้อ หรือมีการสูญเสียของเชื้อเห็ดเมื่อมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น สภาวะแล้ง หรือน้ำท่วมขัง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาหัวเชื้อเห็ดป่าแบบเชื้อแข็ง หรือแบบบอลขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการปลูกเชื้อเห็ดป่าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และยังคงความบริสุทธิ์ของเชื้อ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เชื้อบอลเห็ดป่าสามารถเพิ่มอัตราการเข้าอาศัยร่วมในรากพืชได้มากกว่าเชื้อเห็ดป่าชนิดน้ำได้ถึงร้อยละ 50 เนื่องจากก้อนเพาะช่วยแหล่งเป็นอาหารให้แก่เชื้อเห็ด ทำให้เชื้อเห็ดมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ สามารถเกาะติดรากพืชได้ดีขึ้น นอกจากนี้ก้อนเห็ดยังเป็นแหล่งอาหารสะสมทำให้เชื้อบอลเห็ดป่าสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และอยู่ในสภาพของแข็งทำให้ไม่ถูกชะล้างได้ง่าย การใช้เชื้อบอลเห็ดป่านอกจากจะได้เห็ดป่าไมคอร์ไรซ่าเป็นผลผลิตแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างรายได้ และความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มปริมาณของปุ๋ยชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้เศรษฐกิจที่มีการเติบโตช้า อีกทั้งช่วยให้พืชมีความทนแล้ง และป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชอีกทางหนึ่งด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวิตรี ปราโมช ณ อยุธยา นักวิจัย
โทรศัพท์ 02-5779019
โทรศัพท์มือถือ -
Email sawithree@tistr.or.th
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)