รถเข็นนั่งปรับนอนสำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วย (RT Wheelchair)
นักวิจัย  
ดร.ดนุ พรหมมินทร์
นายปริญญา จันทร์หุณีย์
รศ.ดร.ศุภวิทู สุขเพ็ง
นางสาวบริพัฒน์ กัดมั่น
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 73611
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1901005856 ยื่นคำขอวันที่ 20 กันยายน 2562
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801006026 ยื่นคำขอวันที่ 4 สิงหาคม 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเตรียมความพร้อมด้านนวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยมีบทบาทสำคัญต่อระบบการแพทย์ และสาธารณสุขของประเทศ รถเข็นนั่งปรับนอนสำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยสูงอายุ อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนกลุ่มนี้ เพื่อลดโอกาสที่จะถูกเคลื่อนย้ายผิดวิธีระหว่างรถเข็นทั่วไปไปสู่เตียงเอกซเรย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นหรือเสียชีวิตได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• มีโครงสร้างรองรับร่างกายทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ลดทอนคุณภาพรังสี
• มีช่องใส่แผ่นภาพรังสี โดยที่แผ่นดังกล่าวเคลื่อนตัวได้ตลอดตำแหน่งของตัวรถ
• สามารถปรับเอนนอนได้จึงรองรับการจัดท่าถ่ายภาพเอกซเรย์ในท่าประจำได้ทุกส่วนของร่างกาย
• ช่วยลดการบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในขณะขนย้ายผู้ป่วยสู่เตียงเอกซเรย์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ตัวแทนอนุญาตใช้สิทธิ
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
Email ipbiz@nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "รถเข็นนั่งปรับนอนสำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วย (RT Wheelchair)"