ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense)
นักวิจัย  
นายนริชพันธ์ เป็นผลดี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ไม่ว่าสิ่งรอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน แต่ปัจจัยที่ยังยืนหนึ่งของวงการเกษตรไทยไม่เปลี่ยนแปลง คือ สภาพดินฟ้าอากาศซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต แม้สภาพอากาศในปัจจุบันจะแปรปรวนยากต่อการควบคุม แต่วิธีการทางการเกษตรได้อัพเกรดสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farm ตอบรับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามความสมาร์ตอย่างเดียวอาจไม่ใช่ทางออก หากเกษตรกรไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงการใช้งานได้อย่างแท้จริง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ระบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการเพาะปลูกถือเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมในการปลูกตั้งแต่ต้น ส่งผลให้ควบคุมคุณภาพและประเมินปริมาณผลผลิต รวมถึงช่วยเรื่องการเพิ่มคุณค่าของผลิตผลได้ โดยใช้การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกเพื่อให้ผลผลิตออกในช่วงที่มีความต้องการ หรือผลผลิตขาดแคลน รวมถึงการช่วยเกษตกรนำองค์ความรู้ที่เกิดจากทักษะที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้เข้าใจได้เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาและเป็นการทำเกษตกรรมแบบวิถีชาวบ้าน โดยการลองผิดลองถูก หรือเป็นองค์ความรู้ที่สืบทอดต่อกันมา ไม่มีการจัดเก็บองค์ความรู้หรือข้อมูลที่ใช้อ้างอิง ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนส่งผลให้มีกระบวนการเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดได้ง่าย รวมถึงสามารถเก็บข้อมูลมาศึกษาและถ่ายทอดสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเทคโนโลยีนวัตกรรมเซนเซอร์เพื่อวิเคราะห์และควบคุมปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ที่มีผลสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยเป็นกระบวนการตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวโดยใช้เซนเซอร์ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ประกอบด้วย เซนเซอร์อุ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี
Email naritchaphan.penpondee@nectec.or.th
มวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค - สวทช. หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ (NCCPI)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense)"