รถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการหรือสูงอายุ
นักวิจัย  
นายดนุ พรหมมินทร์
นายปริญญา จันทร์หุณีย์
นายเลิศชัย ศรเฉลิม
นางสาวดวงกมล วรเกษมศักดิ์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001957 ยื่นคำขอวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1902002997 ยื่นคำขอวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1902002998 ยื่นคำขอวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1902002999 ยื่นคำขอวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1902003000 ยื่นคำขอวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันพบจำนวนผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกายมากขึ้น จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 ประเภทความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายอยู่อันดับสูงสุดถึง 1,012,284 คน ประกอบกับผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การใช้รถเข็นจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและผู้สูงอายุเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น อำนวยความสะดวกในการเดินทาง อีกทั้งยังส่งเสริมคุณภาพชีวิต สามารถช่วยให้ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคนในชุมชนได้ ส่งผลให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น โดยส่วนใหญ่รถเข็นที่ใช้งาน จะเป็นรถเข็นแบบขับเคลื่อนด้วยแรงคน ใช้มือและแขนของผู้ใช้งานเอง ซึ่งต้องมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หากมือและแขนของผู้ใช้งานไม่แข็งแรงมากพอ จะทำให้การใช้งานรถเข็นไม่สะดวก ดังนั้น การเลือกใช้รถเข็นไฟฟ้า จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการใช้งาน เพราะใช้งานง่ายกว่า แต่มีข้อจำกัดด้านราคาที่ค่อนข้างสูงตามฟังก์ชันการใช้งาน รถเข็นไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ มีค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง จึงส่งผลกระทบให้ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยขาดโอาสในการใช้งานรถเข็นไฟฟ้า
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
o ต้นแบบอุปกรณ์พ่วงต่อ สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการทำงานของรถเข็นทั่วไปให้เป็นรถเข็นไฟฟ้าได้
o ผ่านการประเมินระดับเครื่องมือแพทย์ด้วยการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า การป้องกันสัญญาณรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
o ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถผลิตได้เองในประเทศ
o สะดวกต่อการบำรุงรักษาและซ่อมแซม เนื่องจากสามารถหาซื้ออุปกรณ์ได้ทั่วไป
o สะดวกต่อการขนย้าย เนื่องจากสามารถพับเก็บได้
o สะดวกต่อการชาร์จแบตเตอรี่ เนื่องจากสามารถชาร์จด้วยไฟบ้านได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1618
Email tlo-ipb@nstda.or.th

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "รถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการหรือสูงอายุ"