ไมโครไคโตซาน
นักวิจัย  
ดร.พิริยาธร สุวรรณมาลา
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603001764 ยื่นคำขอวันที่ 13 กันยายน 2559
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การใช้สารฮอร์โมนต่างๆ เช่นเอธิลีน, จิบเบอเรลลิน, ออกซินหรือสารกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ของพืชโดยตรง สามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของพืชต่าง ๆได้ แต่ยังมีปัญหาอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น ความไม่สมดุลของสารเคมีในพืช สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ฉีดพ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปลอดภัยในสุขภาพของมนุษย์และพืชอื่น ๆ มลพิษทางดินและการเปลี่ยนแปลงค่า pH ของดิน เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ไคโตซาน ผลิตจากไคติน ได้มาจากเปลือกกุ้ง กระดองปู คราบของแมลง และแกนปลาหมึก ไคโตซานถือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ในด้านการเกษตร เนื่องจากสามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ผลิตภัณฑ์ไมโครไคโตซาน ผลิตจากการฉายรังสีไคโตซาน ด้วยรังสีแกมมา โดยผลิตภัณฑ์ไมโครไคโตซาน ใช้เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชสาร เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและปลอดสารพิษ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ข้อดีของไมโครไคโตซาน:
• กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
• เพิ่มสมบูรณ์แข็งแรงของลำต้น ใบและราก
• ช่วยให้พืชดูดซึมปุ๋ยและแร่ธาตุต่างๆได้ดีขึ้น
• กระตุ้นการงอกของเมล็ด
• ปรับปรุงสภาพดิน
• กระตุ้นการเกิดสารป้องกันโรคพืช
• เมื่อใช้เป็นประจำ ช่วยให้พืชทนต่อความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ศัตรูพืช และโรคพืช ได้ดีขึ้น
• สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณจันทราวดี อินทร์สูงเนิน
โทรศัพท์ 02-401-9889 ต่อ 5918
โทรศัพท์มือถือ 061-412-7340
Email jantravadee@tint.or.th
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ไมโครไคโตซาน"